วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

กระบี่กระบอง

ประวัติความเป็นมาของการเล่นกระบี่กระบอง 



              การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง การเล่นกระบี่กระบองเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนังมาทำโล่ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว


            การ เล่นกระบี่กระบองเริ่มในสมัยใด ใครเป็นผู้คิดขึ้นไม่สามารถหาหลักฐานได้ เนื่องจากได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของนักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านาน ควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่พออ้างอิงได้คือ วรรณคดี ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาชำนาญในการกระบี่ ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์

              ใน รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองมาก ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวงจร และโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา ราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อใน พ.ศ. 2409

            ในรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนืองๆ กระบี่กระบองมีกันดาษดื่นและมากคณะ

           ในรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5

           ใน รัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองค่อยๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น

            ต่อมา อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้เป็นผู้นำวิชากระบี่กระบองบรรจุไว้ในหลักสูตรประโยค ผู้สอนพลศึกษา ในปีพ.ศ.2479 และเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะผู้อนุรักษ์ฟื้นฟูและถ่ายทอด ศิลปการต่อสู้ประเภทนี้ ในปี พ.ศ.2518 ได้มีการจัดให้วิชากระบี่กระบองเป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและใน ปี พ.ศ.2521 เป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงยังคงมีการเรียนการสอนอยู่ทุกวันนี้




 คุณค่าของวิชากระบี่กระบอง

 วิชา กระบี่กระบองเป็นศิลปการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติที่สามารถช่วยให้เรา ปลอดภัยในยามคับขันและรักษาเอกราชอยู่ได้ สำหรับในปัจจุบันกิจกรรมกระบี่กระบองแสดงถึงความสามารถของคนไทยที่ยังรักษา มรดกทางวัฒนธรรมไทยได้มั่นคง

ประโยชน์ของวิชากระบี่กระบอง

1. สามารถใช้ต่อสู้และป้องกันตัวในยามคับขันได้ 2. ช่วยสร้างเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย 3. ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะทางด้านจิตใจ เช่น ความกล้าหาญ ความอดทน ความไม่ขลาดกลัวต่ออันตราย และรู้จักช่วยเหลือตนเอง 4. เป็นการเสริมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติ 5. เป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย 6. เป็นการฝึกนิสัยและฝึกจิตใจให้เป็นคนดีมีศีลธรรม



ประเด็นคำถาม
 1. การสร้างความรู้กับประวัติกระบี่กระบองมีผลดีอย่างไร
 2. นักเรียนคิดว่าการเล่นกระบี่กระบองให้ประโยชน์ต่อร่างกายคนเราอย่างไร
 3. นักเรียนบอกได้ไหมว่าประโยชน์ของการเล่นกระบี่กระบองมีอะไรบ้าง


กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับกีฬากระบี่กระบอง


การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย การอ่านจับใจความ การสรุปบทความ 2. วิทยาศาสตร์ ระบบการไหลเวียนโลหิตและการเต้นของหัวใจ
 3. คณิตศาสตร์ การคำนวณเวลาในอดีตจนถึงปัจจุบัน
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) อาหารและโภชนาการสนองต่อการเล่นกระบี่กระบอง

     

              กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น

        ฉะนั้นคำว่า "กระบี่" จึงถูกนำมาเป็นคำเรียกแยกให้รู้ว่าอาวุธสั้นทั้ง หลายจะรวมเรียกว่า กระบี่ ซึ่งมี ดาบ โล่ ดั้ง เขน ไม้ศอกสั้น มีดสั้น พระขรรค์ เคียว ขวาน ตรี สามง่ามสั้น และ สีโหล่

         “กระบอง" มาจาก ยักษ์ ที่ถือกระบองเป็นอาวุธยักษ์รูปร่างใหญ่โตและ การเคลื่อนไหวไม่ไวเท่าลิง อาวุธนี้จึงถูกจัดเรียกว่า กระบอง ไม่ว่าสั้นหรือยาวเป็นหัวหน้า ให้ความหมายรวมเป็นของยาวทั้งมวล ถ้าพูดตามความ จริงแล้วการเคลื่อนไหวการต่อสู้จะทำได้ดีซึ่งส่วนมากจะเป็นวงนอก ส่วนของสั้นจะทำได้ทั้งวงนอกและวงใน

        ฉะนั้นคำว่า กระบองจึงถูกแยกเรียกเป็นที่รวมของอาวุธยาวที่ใช้แสดงทั้งหมด เช่น พลอง กระบอง ง้าวทุกชนิด โตมร ทวน หอก เป็นต้น

        การเรียกกระบี่กระบองยังมีหลักฐานให้เห็นชัดในเรื่องอาวุธที่นิยมใช้แสดงและเล่นกัน คือ คู่ของไม้ศอกสั้นกับพลอง นั่นคือความหมายที่ถูกจัดให้เห็นว่า อาวุธสั้นคือลิง ผู้แสดงจะแสดงถึงหลักวิชาความคล่องแคล่วว่องไว ส่วนพลองหรือกระบองคือตัวแทนของยักษ์เป็นประเภทอาวุธยาว

              เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ชนิด
        คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร

         กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร

         กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ เครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้

         ดาบ เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขนดาบกับโล่แล้วแต่จะกำหนด

         ง้าว เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด 


       วิธีแสดง
        การเล่นกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทแสดง กับประเภทแข่งขัน

ประเภทแสดง - เป็นการเล่นของนักกระบี่กระบองในคณะเดียวกัน จึงเป็นไปอย่างรู้เชิงกันหรือนัดหมายกันไว้อย่างดี ตามภาษากระบี่กระบอง เรียกว่า "รู้ไม้" กันอยู่แล้ว

ประเภทแข่งขัน - ต่างคณะจะลงประอาวุธกัน มีรสชาติขึ้นมาก เพราะสุดแต่ว่า ใครที่มาจากคณะใดจะมีความสามารถมากกว่ากัน

        การเล่นกระบี่กระบองที่ครบกระบวนการ จะต้องมีวงปี่ชวาและกลองแขก เสียงปี่เสียงกลองทำให้เกิดความคึกคักขึ้นทั้งผู้แสดงและผู้ดู ในวงปี่ชวา ๑ เลา กลองแขก๒ ลูก ฉิ่ง ๑ คู่

         สถานที่แสดง ได้แก่ ลานกว้างๆ พอที่จะให้ผู้แสดงได้ต่อสู้กันได้ไม่คับแคบนัก ก่อนจะลงมือแสดงจะต้องไหว้ครูกันก่อน จากนั้นก็ถึงการต่อสู้ ปี่ชวาจะขึ้นเพลงเร่งเร้าฟังคึกคัก แตกต่างออกไปจากเพลงไหว้ครู โดยคู่ต่อสู้จะต้องรำอาวุธก่อน ซึ่งเป็นการรำที่ผสมกันระหว่างแบบนาฏศิลป์ กับแบบเฉพาะของแต่ละคณะหรือแต่ละสำนัก เป็นการอวดความสวยงามกัน ตอนรำอาวุธนี้ จะใช้ไม้รำซึ่งขัดทำอย่างประณีตงดงามมาก ท่ารำที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของกระบี่กระบอง มี "ขึ้นพรหม" เป็นการรำโดยหันไปสี่ทิศ แล้วก็ถึงท่า "คุม" ตามแบบฉบับคือ รำลองเชิงกันโดยต่างฝ่ายต่างรุกล้ำเข้าไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้นก็เป็นท่า "เดินแปลง" โดยการสังเกตดูเชิงกันและกัน แล้วจำไว้ว่าใครมีจุดอ่อนที่ใดบ้าง แล้วจึงคุกเข่า "ถวายบังคม" คือ กราบ ๓ ครั้ง จากนั้น จึงเปลี่ยนเครื่องไม้รำมาเป็นเครื่องไม้ตี

         นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็น เกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก ส่วนเครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น การแสดงก็จะเริ่มจากการจับอาวุธต่อสู้กันเป็นคู่ๆ เช่น กระบี่กับกระบี่ พลองกับพลอง ง้าวกับง้าว พลองกับไม้สั้น จากนั้นก็สุดแต่จะยักเยื้องใช้อาวุธต่างๆ ในที่สุดก็เป็นการตะลุมบอนหรือหลายคู่ หรือการต่อสู้แบบ "สามบาน" คือ คนหนึ่งต่อสู้กับอีก ๒ คน

         พลงที่ใช้นั้น เพื่อความเหมาะสมกับการร่ายรำอาวุธแต่ละอย่าง ก็มักจัดเพลงขึ้นตามความเหมาะสม เช่น กระบี่ ใช้เพลงกระบี่ลีลา ดาบสองมือ ใช้เพลงจำปาเทศหรือขอมทรงเครื่อง ง้าวใช้เพลงขึ้นม้า พลองใช้เพลงลงสรงหรือขึ้นพลับพลา การต่อสู้สามบาน ใช้เพลงกราวนอกหรือเพลงฝรั่งรำเท้า



     ประโยชน์ของการฝึก
เพื่อให้จิตใจฮึกเหิม มีความกล้า
เพื่อให้ได้ความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
เพื่อให้จิตใจแข็งแกร่ง กล้าตัดสินใจ
เพื่อทดสอบฝีมือเข้าอาสารับใช้ประเทศชาติ โดยการประลองฝีมือกัน

กระบี่กระบอง จัดเป็นการเล่นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่จัดให้มีท่าไม้รำประเภทต่าง ๆ นักเรียนจะต้องศึกษาและฝึกทักษะการรำให้ได้ 





เนื้อหาสาระ

ไม้รำที่ 1 ลอยชาย (เดินสลับฟันปลา)
• มือซ้ายจีบที่หน้าอก ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น หงายมือ โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอกแขนท่อนบนอยู่ชิดลำตัว ข้อศอกงอเป็นมุมฉาก
• ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง 

• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น เข่าซ้ายงอเป็นมุมฉาก ขาท่อนบนขนานพื้น เข่าขวาตึง
• มือซ้ายรำหน้า แล้วจีบไว้ที่หน้าอก 

• หมุนตัวต่อไปทางซ้าย 1 มุมฉาก วางเท้าซ้ายลงวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางซ้ายไว้ข้างเอว โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอก ก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น 

• มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก
• หมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉากวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา วางเท้า ขวาลง พลิกข้อมือหงาย อยู่ในท่าคุมรำ


กระบี่กระบอง จัดเป็นการเล่นแบบกีฬาประเภทหนึ่ง ที่มักจัดให้แสดงเป็นการมหรสพในงานต่างๆ และยังเป็นการเล่นของไทยโดยแท้จริง เพราะไม่เคยปรากฏมีในประเทศใดในโลก เป็นกีฬามหรสพที่นิยมกันมาตังแต่โบราณ เป็นการฝึกหัดใช้อาวุธในยามสงบไปในตัว นับว่าเป็นการแสดงที่ทำให้ตื่นเต้น เร้าใจ มักแสดงในบริเวณที่กว้างๆ เช่น สนามหรือลานใหญ่ๆ ในวัด

เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ชนิด คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร

กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร
กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ เครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้
ดาบ เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขน ดาบกับโล่ แล้วแต่จะกำหนด
ง้าว เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด

วิธีแสดง การเล่นกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทแสดง กับประเภทแข่งขัน
ประเภทแสดง - เป็นการเล่นของนักกระบี่กระบองในคณะเดียวกัน จึงเป็นไปอย่างรู้เชิงกันหรือนัดหมายกันไว้อย่างดี ตามภาษากระบี่กระบอง เรียกว่า "รู้ไม้" กันอยู่แล้ว
ประเภทแข่งขัน - ต่างคณะจะลงประอาวุธกัน มีรสชาติขึ้นมาก เพราะสุดแต่ว่า ใครที่มาจากคณะใดจะมีความสามารถมากกว่ากัน
การเล่นกระบี่กระบองที่ครบกระบวนการ จะต้องมีวงปี่ชวาและกลองแขก เสียงปี่เสียงกลองทำให้เกิดความคึกคักขึ้นทั้งผู้แสดงและผู้ดู ในวงปี่ชวา ๑ เลา กลองแขก ๒ ลูก ฉิ่ง ๑ คู่

สถานที่แสดง ได้แก่ ลานกว้างๆ พอที่จะให้ผู้แสดงได้ต่อสู้กันได้ไม่คับแคบนัก ก่อนจะลงมือแสดงจะต้องไหว้ครูกันก่อน จากนั้นก็ถึงการต่อสู้ ปี่ชวาจะขึ้นเพลงเร่งเร้าฟังคึกคัก แตกต่างออกไปจากเพลงไหว้ครู โดยคู่ต่อสู้จะต้องรำอาวุธก่อน ซึ่งเป็นการรำที่ผสมกันระหว่างแบบนาฏศิลป์ กับแบบเฉพาะของแต่ละคณะหรือแต่ละสำนัก เป็นการอวดความสวยงามกัน ตอนรำอาวุธนี้ จะใช้ไม้รำซึ่งขัดทำอย่างประณีตงดงามมาก ท่ารำที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของกระบี่กระบอง มี "ขึ้นพรหม" เป็นการรำโดยหันไปสี่ทิศ แล้วก็ถึงท่า "คุม" ตามแบบฉบับคือ รำลองเชิงกันโดยต่างฝ่ายต่างรุกล้ำเข้าไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้นก็เป็นท่า "เดินแปลง" โดยการสังเกตดูเชิงกันและกัน แล้วจำไว้ว่าใครมีจุดอ่อนที่ใดบ้าง แล้วจึงคุกเข่า "ถวายบังคม" คือ กราบ ๓ ครั้ง จากนั้น จึงเปลี่ยนเครื่องไม้รำมาเป็นเครื่องไม้ตี

นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็นเกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก ส่วนเครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น การแสดงก็จะเริ่มจากการจับอาวุธต่อสู้กันเป็นคู่ๆ เช่น กระบี่กับกระบี่ พลองกับพลอง ง้าวกับง้าว พลองกับไม้สั้น จากนั้นก็สุดแต่จะยักเยื้องใช้อาวุธต่างๆ ในที่สุดก็เป็นการตะลุมบอนหรือหลายคู่ หรือการต่อสู้แบบ "สามบาน" คือ คนหนึ่งต่อสู้กับอีก ๒ คน
เพลงที่ใช้นั้น เพื่อความเหมาะสมกับการร่ายรำอาวุธแต่ละอย่าง ก็มักจัดเพลงขึ้นตามความเหมาะสม เช่น กระบี่ ใช้เพลงกระบี่ลีลา ดาบสองมือ ใช้เพลงจำปาเทศหรือขอมทรงเครื่อง ง้าวใช้เพลงขึ้นม้า พลองใช้เพลงลงสรงหรือขึ้นพลับพลา การต่อสู้สามบาน ใช้เพลงกราวนอกหรือเพลงฝรั่งรำเท้า


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬากระบี่กระบอง

ความหมายและความสำคัญของกระบี่กระบองกระบี่กระบองเป็นกีฬาประเภทการต่อสู้ ป้องกันตัวดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากลักษณะและรูปแบบการรบในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นการรบระยะประชิด ตะลุมบอน เสียมากกว่าการรบระยะไกลดังเช่นในปัจจุบัน อาวุธที่ใช้ในสมัยนั้นได้แก่ กระบี่ ดาบ โล่ ดั้ง ง้าว พลอง เป็นต้น
สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้อธบายคำว่า กระบี่กระบองไว้ว่า เป็นการละเล่นเชนิดหนึ่งของไทย จัดอยู่ในจำพวกกีฬาไทย ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล นิยมฝึกหัดและเล่นกันในยามสงบ เพื่อนำไปใช้ต่อสู้กับศัตรูในยามรบนั่นเอง
ความหมายและความสำคัญของกระบี่
ความหมายของกระบี่ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า
กระบี่ ๑
(กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจม
โจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
กระบี่ ๒
น. อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือ
ทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก.

ในทางการออกกำลังและทางพลศึกษา กระบี่ หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งของกีฬากระบี่กระบอง เป็นการเล่นที่ใช้อาวุธซึ่งทำด้วยหวาย หรือไม้ หรือเหล็ก เป็นเครื่องมือในการเล่นแบบต่อสู้ระยะประชิด โดยดำเนินการเล่นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกติกา ตลอดจะประเพณีที่ดีงาม
ประวัติความเป็นมาของกระบี่กระบอง
จากการที่ในสมัยโบราณ มีศึกสงครามอยู่เป็นเนืองๆ รูปแบบการต่อสู้ในสม้ยก่อนเป็นแบบประชิดตัวตะลุมบอน อาวุธที่ใช้จึงเป็น ดาบ กระบี่ โล่ เป็นต้น ทหารไทยจึงต้องมีการฝึกฝนอาวุธเหล่านี้เพื่อให้เกิดความชำนาญอย่างสม่ำเสมอ แต่หากใช้อาวุธจริงๆมาทำการฝึกฝน อาจจะมีการพลาดพลั้งถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตได้ จึงมีการจำลองเครื่องอาวุธดังกล่าวขึ้นโดยใช้ไม้ หรือหวาย หรือหนังวัว หนังควาย เพื่อนำมาใช้ในการฝึกซ้อมแทนอาวุธจริง
ต่อมาบ้านเมืองสงบสุข ห่างหายจากการทำสงคราม การฝึกฝนของทหารก็ขาดการเอาจริงเอาจังเท่าที่ควร จึงมีการดัดแปลงการฝึกซ้อมต่อสุ้เสียใหม่ ให้สนุกสนานมากขึ้น โดยการจัดให้มีการแข่งขันประลองความสามารถกัน โดยใช้อาวุธจำลอง มีการกำหนดระเบียบ แบบแผนขึ้น เรียกว่า "ยุทธกีฬา" และต่อมาได้เพิ่มท่าร่ายรำ และสืบสานต่อกันมาจนเป็นประเพณีวัฒนธรรม และการละเล่น ในปัจจุบัน ได้ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมทางพลศึกษาที่มีคุณค่าสูง
กระบี่กระบองในสมัยรัตนโกสินทร์
แต่เดิมกีฬากระบี่กระบองถือเป็นกีฬาของพระมหากษัตริย์ ซึ่งการศึกษาการต่อสู้อยู่ในศาสตร์ 18 ประการของกษัตริย์เช่นกัน ต่อมาได้มีการแพร่หลายสู่ประชาชนอ่างกว้างขวางในตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4 ถือเป็นยุคเฟื่องฟูอย่างยิ่งเนื่องจากทรงโปรดปรานในการเล่นกระบี่กระบองอย่างมาก และมีการจัดการเล่นแสดงกันอย่างแพร่หลายในงานสมโภชต่างๆ เช่น โกนจุก บวชนาค กฐิน เป็นต้น
เมื่อมาถึงสมัยรัชการที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดการละเล่นกระบี่กระบองอย่างมาก และมีครูมวย ครูดาบที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน ในปี พ.ศ. 2449 มีการสอนกระบี่กระบองอย่างเป็นแบบแผนขึ้นที่ สามัคคยาจารย์สมาคม โดยมี ขุนยี่สารสรรยากร หรือ ครูแสงดาบ เป็นผู้ทำหน้าที่สอน และเผยแพร่ขยายตัวออกไปอย่างมากมาย

ถือกำเนิดปูชนียบุคคล


ในสมัย รัชการที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการจัดงานกรีฑาประจำปีขึ้น ในปี พ.ศ.2460 และ พ.ศ.2462 และในการนี้ อาจารย์นาค เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา ซึ่งในวงการกระบี่กระบองได้ยกย่องให้ท่านเป็น บิดาแห่งวิชากระบี่กระบองสมัยใหม่ ได้ร่วมแสดงถวายให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรทั้งสองครั้ง


ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเล่นกระบี่กระบองเริ่มซบเซาลง แต่มีการบรรจุวิชากระบี่กระบองเข้าไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยทหารบก เรียกว่า วิชาอาวุธโบราณ ในปี พ.ศ. 2468

และเมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 8 กีฬากระบี่กระบองกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง และอาจารย์นาค เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา ได้ทำการบรรจุวิชากระบี่กระบองให้แก่นักศึกษาพลศึกษาใน พ.ศ. 2478 และต่อมาในปี พ.ศ.2479 จึงได้ทำการบรรจุวิชากระบี่กระบองเข้าไว้ในหลักสูตรของประโยคผู้สอนพลศึกษา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อมาถึง พ.ศ.2518 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายใหม่ และได้มีการกำหนดให้วิชากระบี่กระบองเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพลศึกษา ในรายวิชาบังคับ ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 และต่อมาในปี พ.ศ.2521 กระทรวงศึกษาฯได้ประกาศหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 และได้กำหนดวิชากระบี่ 1 เป็นวิชาบังคับเรียนในช้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นับแต่นั้นมา

ประโยชน์และคุณค่าของการเล่นกระบี่กระบอง
เป็นการฝึกศิลปะการต่อสุ้ป้องกันตัว ในยามที่เกิดอันตราย
เป็นการออกกำลังกายที่ดี
เสริมสร้างคุณลักษณะทางจิตใจ
สร้างเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปะประจำชาติ
รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ประหยัด
เป็นวิชาที่ทรงคุณค่ายิ่ง


2 ความคิดเห็น: